Skip to content

ติดตามการชำระหนี้คืนเงินกู้ยืมโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรที่องค์กรผิดนัดชำระกรณีโครงการที่กำลังสิ้นสุดสัญญา

เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัดเพชรบุรี โดยนางอภิวันธ์ บัววรรณ์ หัวหน้าสำนักงาน และ นางสาวยุวดี วงศ์ประเสริฐ พนักงานอาวุโส รับผิดชอบงานฟื้นฟูฯ พร้อมด้วย นายกรภัทร์ นานคงแนบ ลูกจ้างกลุ่มงานทั่วไป ลงพื้นที่ติดตามการชำระหนี้คืนเงินกู้ยืมโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรที่องค์กรผิดนัดชำระกรณีโครงการที่กำลังสิ้นสุดสัญญา และติดตามรายงานความก้าวหน้าโครงการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แบบครบวงจร ณ ที่ทำการกลุ่มฟื้นฟูเกษตรกรร่วมใจพัฒนา จ.เพชรบุรี เลขที่ 41 ม.4 ตำบลดอนขุนห้วย อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ผลการติดตามปรากฏว่า โรงสีข้าวไม่สามารถใช้งานได้ ทำให้เครื่องจักรที่ไม่ได้ใช้งานเก่าและเป็นสนิม กลุ่มองค์กรไม่มีรายได้จึงไม่สามารถชำระหนี้คืนเงินกู้ยืมได้ ข้อเสนอแนะจากสำนักงาน
ให้กลุ่มองค์กรร่วมกันเสนอแนวทางแก้ไขซึ่งได้ข้อสรุปดังนี้
1. ให้ดำเนินการหาเงินเพื่อนำมาชำระหนี้คืนงินกู้ยืมเป็นก้อนครั้งเดียวและทำหนังสือขอความอนุเคราะห์ยกเว้นดอกเบี้ยและค่าปรับที่เกิดขึ้นทั้งหมด
2. ระดมเงินจากสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการที่ยังสามารถติดต่อได้ในการร่วมกันชำระหนี้คืนงินกู้ยืมและทำหนังสือขอความอนุเคราะห์ยกเว้นดอกเบี้ยและค่าปรับที่เกิดขึ้นทั้งหมด
3. ให้กลุ่มองค์กรนัดสมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการและกรรมการกลุ่มองค์กรประชุมและหารือเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน

ข่าวก่อนหน้า

เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัดเพชรบุรี โดยนางอภิวันธ์ บัววรรณ์ หัวหน้าสำนักงาน และ นางสาวยุวดี วงศ์ประเสริฐ พนักงานอาวุโส รับผิดชอบงานฟื้นฟูฯ พร้อมด้วยนายปริญญา นุชนารถ ลูกจ้างกลุ่มงานทั่วไป ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าโครงการเลี้ยงผึ้งและพัฒนาบรรจุภัณฑ์มาตรฐานที่ดี (GMP) ณ ที่ทำการกลุ่มองค์กรเลขที่ 277 ม.4 ตำบลหนองหญ้าปล้อง อำเภอหนองหญ้าปล้องจังหวัดเพชรบุรี ผลการติดตามปรากฏว่า กลุ่มองค์กรยังไม่ได้ดำเนินกิจกรรมต่อหลังจากเกิดน้ำท่วมและไฟป่า และจะดำเนินกิจกรรมการเลี้ยงผึ้งต่อหลังจากได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาชุมชน จังหวัดเพชรบุรี ในการสนับสนุนเพื่อต่อยอดกิจกรรมเลี้ยงผึ้ง ในส่วนของบรรจุภัณฑ์และวัสดุอุปกรณ์ และได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก SME เพื่อนำมาต่อยอดในการเลี้ยงผึ้งใหม่ ซึ่งจะจัดซื้อในส่วนของเฟลมที่ใช้เลี้ยงผึ้ง อาหารเลี้ยงผึ้งและพันธุ์ผึ้ง ซึ่งกลุ่มองค์กรจะจัดทำกิจกรรมการเลี้ยงผึ้ง จำนวน 30 ลัง (ใช้ลังเดิมที่สามารถนำมาปรับปรุงและซ่อมแซมในการใช้เลี้ยงผึ้งต่อ ซึ่งคาดว่าจะได้รับงบประมาณ ในช่วงเดือน พฤษภาคม 2568 นี้) ข้อเสนอแนะจากสำนักงาน1.หลังจากได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาชุมชน จังหวัดเพชรบุรี และ SME ให้กลุ่มองค์กรดำเนินการจัดทำกิจกรรมและวางแผนให้รอบครอบ จัดประชุมสมาชิกที่เข้าร่วมกิจกรรมโครงการและวางแผนการออมเงินทุกเดือน เพื่อที่จะสามารถนำมาใช้ในการบริหารจัดการกลุ่มองค์กร และทำให้กลุ่มองค์กรเข้มแข็งขึ้น2. ให้กลุ่มองค์กรเร่งดำเนินการชำระหนี้คืนเงินกู้ยืมหลังจากได้รับการอนุมัติผ่อนผันปรับแผนการชำระคืนเงินกู้ยืมโครงการเลี้ยงผึ้งโพรง ซึ่งจะถึงกำหนดชำระคืนเงินกู้ยืม งวดที่ 1 ในวันที่ 21 มิถุนายน 2568

เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัดเพชรบุรี โดยนางสาวยุวดี วงศ์ประเสริฐ พนักงานอาวุโส และนางสาวพรมณี นุชจ้อย รับผิดชอบงานฟื้นฟูฯ พร้อมด้วยนายปริญญา นุชนารถ ลูกจ้างกลุ่มงานทั่วไป ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าโครงการธนาคารไส้เดือนและผลิตปุ๋ยไส้เดือนเพื่อจำหน่าย ณ ที่ทำการกลุ่มองค์กรเลขที่ 127 ตำบลท่าราบ อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี ผลการติดตามปรากฏว่า การผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนลดลงเหลือ 100 กะละมัง แต่กลุ่มองค์กรนำปุ๋ยมูลไส้เดือนที่ได้ไปทำปุ๋ยน้ำหมักมูลไส้เดือนเพื่อต่อยอดไปใช้ในการทำ Super foods (ไข่ผำ) เพื่อเป็นรายได้ใหม่อีกหนทางหนึ่งเพื่อให้สามารถชำระคืนเงินกู้ยืมได้ต่อไป และสำนักงานได้ติดตามให้กลุ่มองค์กรนำเงินมาชำระหนี้คืนเงินกู้ยืม เนื่องจากไม่ได้ชำระติดต่อกันเป็นจำนวน 3 งวด โดยให้กลุ่มองค์กรแบ่งเงินที่ได้จากการจำหน่ายปุ๋ยมูลไส้เดือน เละการเพาะไข่ผำ มาชำระคืนเงินกู้ยืมภายในปี 2568 หลังจากที่ได้ติดตามการชำระคืนเงินกู้ยืมแล้วกลุ่มองค์กรได้ทำหนังสือแจ้งกำหนดการชำระหนี้คืนเงินกู้ยืมว่าจะชำระภายใน ปี 2568 นี้ เนื่องจากสถานะการณ์ช่วงนี้เริ่มดีขึ้นมีผลิตที่ได้จากการต่อยอดจากปุ๋ยน้ำหมักมูลไส้เดือนทำให้ที่มีรายได้เพิ่มขึ้นอีกช่องทางหนึ่ง

เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2568 สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัดเพชรบุรี โดยนางอภิวันธ์ บัววรรณ์ หัวหน้าสำนักงาน และ นางสาวยุวดี วงศ์ประเสริฐ พนักงานอาวุโส รับผิดชอบงานฟื้นฟูฯ พร้อมด้วยนายปริญญา นุชนารถ ลูกจ้างกลุ่มงานทั่วไป ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าโครงการเลี้ยงสุกร กลุ่มฟื้นฟูเกษตรกรเมืองเพชร ณ ตำบลท่ายาง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี และ ตำบลไร่ใหม่พัฒนา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ผลการติดตาม ปรากฏว่ามีแม่พันธุ์หมู จำนวน 4 ตัว ซึ่งได้คลอดลูกหมู จำนวน 13 ตัว เสียชีวิตจำนวน 2 ตัว คงเหลือลูกหมู จำนวน 11 ตัว มีอายุประมาณ 7 วัน และแม่พันธุ์หมูอีก 3 ตัว กำลังตั้งท้อง หลังจากกลุ่มองค์กรได้ปรับแผนการชำระคืนเงินกู้ยืม เป็นครั้งที่ 2 ซึ่งครบกำหนดชำระหนี้คืนเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2567 ปรากฏว่ากลุ่มองค์กรยังไม่สามารถชำระคืนเงินกู้ยืมให้กับสำนักงานได้ สาเหตุเนื่องมาจากกลุ่มองค์กรยังขาดสภาพคล่องทางด้านการเงิน การเลี้ยงหมูยังมีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย ดังนั้นกลุ่มองค์กรจึงขอชำระคืนเงินกู้ยืม เป็นจำนวน 2,000 บาท ก่อนถ้ามีเงินทุนหมุนเวียนอยู่ในสภาพคล่องแล้วจะดำเนินการชำระคืนต่อไป

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์